เมนู

จงใส่ใจเป็นอันดีเถิด เราจักกล่าว บัดนี้ ชาณุโสณีพราหมณ์ทูลรับพระดำรัส
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

อุปมารอยเท้าช้าง 4 อย่าง


[332] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า พราหมณ์
เปรียบเหมือนคนต่อช้างเข้าไปสู่ป่าช้าง เขาเห็นรอยเท้าช้างที่ใหญ่ แม้ว่าโดยส่วน
ยาวส่วนกว้างส่วนขวางในป่าช้าง คนต่อช้างผู้ฉลาด ย่อมไม่ตกลงใจก่อนว่า
เป็นช้างใหญ่หนอ ดังนี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อ
ว่า วามนิกา (พังค่อม) มีรอยเท้าใหญ่มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้
จะเป็นรอยเท้าช้างพังวามนิกาเหล่านั้นก็ได้ คนต่อช้างนั้นก็ตามรอยเท้าช้างนั้น
ไป เขากำลังตามรอยเท้านั้นอยู่ ก็พบรอยเท้าช้างใหญ่ ไม่ว่าโดยส่วนยาว
ส่วนกว้างและส่วนขวาง ที่ซึ่งถูกเสียดสีที่อยู่ประจำในที่สูงในป่าช้าง ซึ่งคนต่อ
ช้างผู้ฉลาด ก็ยังไม่ตกลงใจก่อนว่า เป็นช้างใหญ่หนอ ดังนี้ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร ดูก่อนพราหมณ์ เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อว่าอุจจากฬาริกา มีรอย
เท้าใหญ่มีอยู่ในป่าช้าง รอยเท้านี้พึงจะเป็นรอยเท้าช้างพังเหล่านั้นก็ได้ คนต่อ
ช้างนั้นก็เดินตามรอยเท้าช้างนั้นไป เขากำลังเดินตามรอยเท้าช้างนั้นอยู่ ก็จะพบ
รอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งยาวทั้งกว้างทั้งส่วนขวางที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่สูง และที่ซึ่ง
ขนายแทงไว้ในที่สูง คนต่อช้างผู้ฉลาด ก็ยังไม่ตกลงใจก่อนว่า ช้างใหญ่หนอ
ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนพราหมณ์ เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อ
อุจจากเณรุกา มีรอยเท้าใหญ่มีอยู่ในป่าที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้จะเป็นรอยเท้า
ช้างพังเหล่านั้นก็ได้ คนต่อช้างนั้นก็เดินตามรอยเท้าช้างนั้นไป เขากำลังเดิน
ตามรอยเท้าช้างนั้นอยู่ ก็จะพบรอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งยาว ทั้งกว้าง ทั้งขวาง
ที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่สูง ที่ซึ่งขนายแทงไว้ในที่สูง และกิ่งไม้หักในที่สูง และเห็น
ตัวช้างนั้นอยู่โคนต้นไม้ อยู่กลางแจ้ง เดินอยู่ ยืนอยู่ นั่งอยู่หรือนอน เขาย่อม
ตกลงใจว่า ช้างเชือกนี้เองคือช้างใหญ่เชือกนั้น ดังนี้ แม้ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์

ข้ออุปไมยก็ฉันนั้นนั่นแล ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นอรหันต์ รู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาแสะจรณะ ไปดีแล้ว เป็นผู้รู้โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่
ควรฝึก ไม่มีมีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่น
แล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมนั้น ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้พร้อมด้วยเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ซึ่งหมู่สัตว์พร้อมด้วยสมณพราหมณ์ทั้งเทวดาและมนุษย์
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม ตถาคตนั้นย่อมแสดงธรรม
งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง คฤหบดี คฤหบดีบุตร หรือผู้ที่เกิด
มาภายหลังแล้วในสกุลใดสกุลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นได้ฟังธรรมนั้นแล้ว
ย่อมได้เฉพาะซึ่งศรัทธาในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้เฉพาะซึ่งศรัทธาแม้
นั้น ย่อมพิจารณาเห็นแม้ดังนี้ว่า ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งกิเลส
เพียงดังธุลี บรรพชาเป็นโอกาสอันปลอดโปร่ง การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้ หาเป็นกิจ
อันใคร ๆ กระทำได้โดยง่ายไม่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชเถิด ต่อมา เขาละกองโภค-
สมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวดนุ่มห่มผ้ากาสาว-
พัสตร์ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวช.

ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ


[333] กุลบุตรนั้นบวชแล้วอย่างนี้ ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพของ
ภิกษุทั้งหลาย ละการฆ่าสัตว์ เว้นจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะไม้ วางศาสตรา
มีด มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง
อยู่ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่
ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ละกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหม-
จรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน ละการพูด